ใย ไหม ไข่ หนอน
ไหม
ไหมคือเส้นใยที่พ่นออกมาจากปากของตัวหนอนที่โตเต็มวัยเพื่อมาห่อหุ้มตัว
ป้องกันศตรูทางธรรมชาติในขณะที่หนอนไหมลอกคราบจากหนอนไหมเป็นตัวดักแด้
และไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ หนอนไหมเป็นแมลงชนิดหนึ่ง
ซึ่งมีการเจริญเติบโตจากไข่ไหม(ขนาดเท่าเมล็ดงา) และเป็นตัวหนอนไหม
ในขณะเป็นตัวหนอนไหมจะเจริญโดยการลอกคราบประมาณ 3-4 ครั้ง ในระยะเวลาประมาณ 20-22
วัน และจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 10,000 เท่า โดยการกินอาหารกเพียงอย่างเดียว
คือใบหม่อน และเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว จะหยุดกินอาหาร
แล้วพ่นใยออกมาห่อหุ้มตัวเอง ที่เราเรียกว่า รังไหม
ซึ่งมีลักษณะกลมรีคล้ายเมล็ดถั่ว และหากเรานำรังไหมมาต้มในน้ำที่มีอุณหภูมิตั้งแต่
80 C ขึ้นไปจะสมารถทำให้กาว(sericin) อ่อนตัว และดึงออกมาเป็นเส้นยาวได้
ความยาวของเส้นใยจะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และการดูแลในช่วงที่เป็นหนอนไหม
ไหมเป็นสิ่งทอที่ล้ำค่ามากกว่าสิ่งทออื่นๆจนได้สมญานามว่า”ราชินีแห่งเส้นใย”
แม้ไหมจะมีข้อเสียคือ ยืดหยุ่นได้น้อย ยับง่ายซักยาก
แต่ข้อเสียเหล่านี้ก็ได้กำจัดออกไปหรือทำให้ลดลงไป โดยการใช้สารเคมีหลายชนิด
ในกระบวนการผลิตเพื่อทำให้ผ้าไหมซักง่ายขึ้น ลดการยับและลดการทำให้ผ้าเหลืองลงได้ ยังมีการพัฒนาเส้นไหมดิบให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้นโดยการตีเกลียวเส้นไหม
ในทิศทางกลับกันและถี่ขึ้น ใช้เส้นใยที่มีขนาดใหญ่
เส้นใยชนิดนี้จะมีคุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ดี
กำจัดข้อเสียต่างๆออกได้ด้วยความเป็นเส้นใยที่ได้จากสัตว์
ไหมจึงได้เปรียบเหนือกว่าฝ้าย ไหมมึคุณสมบัติดีเยี่ยมในการระบายอากาศ
ดูดซับความร้อน ทำให้ร่างกายสนบาย มีการดูดซับน้ำได้มากกว่าฝ้าย 1.5 เท่า
แต่ระบายความชื้นได้เร็วกว่า 50% และดูดซับความร้อนไว้ในเนื้อผ้าได้สูงกว่า 13-21
% ปกติอุณหภูมิของร่างกายบริเวณเต้านมและต้นขาประมาณ 33.3 – 34.2
องศาเซลเซียส การสวมใส่ชุดผ้าไหมจะทำให้อุณหภูมิร่างกายบริเวณดังกล่าวลดลงเหลือ
31-33 องศาเซลเซียส ดังนั้นจึงทำให้ผู้สวมใส่รู้สึกอบอุ่นในฤดูหนาวแต่จะเย็นสบายในฤดูร้อน
ไม่เหนียวเนอะหนะเวลาสวมใส่ ด้วยเหตุผลดังกล่าว ประเทศญี่ปุ่นที่มีอากาศร้อนและอากาศหนาวในช่วง
1 ปี
จึงพัฒนาชุดชั้นในที่ทำด้วยเส้นใยไหมดึงดูดความสนใจได้มากกว่าเส้นใยสังเคราะห์อื่นๆ
นอกจากจะใช้ผ้าไหมเป็นเครื่องนุ่มห่มแล้ว ยังทำเป็นผ้าม่าน
ผ้าหุ้มชุดเฟอร์นิเจอร์ฯลฯ
ในอดีตถุงน่องสตรีทำจากไหมเพียงอย่างเดียว ภายหลังใยสังเคราะห์ไนล่อนเข้ามาแทนที่ไหมได้เกือบสมบรูณ์
เนื่องจากความเหนียวและทนทานยืดหยุ่นดีและราคาถูก
แต่ไหมยังดีกว่าไนล่อนอยู่มากในด้านการสัมผัสการดูดซับความร้อนและระบายอากาศ
สมบัติทั่วไปของเส้นไหม
เส้นไหมเป็นเส้นใยโปรตีนที่ได้จากธรรมชาติและเป็นเส้นใยธรรมชาติชนิดเดียวที่เป็นเส้นยาว(filament)
ต่างจากเส้นใยเส้นใยธรรมชาติอื่นเช่น ฝ้าย ขนสัตว์ ลินิน ที่ล้วนเป็นเส้นใยสั้น (staple
fiber) รังไหมจะประกอบด้วยเส้นไหมดิบที่เรียกว่าเส้นไหมไฟโบรอิน(fibroin)
สองเส้นร้อยละ 75 โดยน้ำหนัก ที่เกาะติดกันและเคลือบด้วยกาวไหม หรือที่เรียกว่า
เซริซิน (sericin) ร้อยละ 25 โดยน้ำหนัก นอกจากนี้ในเส้นไหมจะมีไขมัน
และน้ำมันอยู่ประมาณ 0.5-1 % และสารสีธรรมชาติประมาณ 1-1.4 %
ปริมาณของกาวไหมจะขึ้นกับพันธุ์ไหม เช่นไหมเลี้ยงพันธุ์ Bombyx mori หรือ Mulberry
silk จะมีกาวไหม 20-30 % ดังนั้นเมื่อจะทำการสาวเส้นไหมออกจากรังไหม
จะต้องนำรังไหมไปต้มเพื่อทำให้รังไหมอ่อนนิ่มสม่ำเสมอกันตลอดทั้งรัง
และกาวไหมบางส่วนจะละลายออกไป ทำให้สาวหาเงื่อนได้ง่าย
และไม่ขาดบ่อยเพราะเส้นใยคลายตัวออกอย่างเป็นระเบียบ
ส่งผลให้สามารถสาวไหมออกจากรังได้ง่าย มีปริมาณเศษไหมชั้นนอก เศษไหมชั้นใน
และรังไหมที่สาวไม่ออกเหลือน้อยที่สุด
รังไหมของหนอนไหมแต่ละรังจะสามารถสาวไม่ออกเหลือน้อยที่สุด รังไหมของหนอนไหม
แต่ละรังจะสามารถสาวเป็นเส้นใยต่อเนื่องได้ประมาณ 1500 ฟุต หรือ 500 หลา
สำหรับเส้นใยที่ขาดไม่มีความยาวต่อเนื่อง หรือที่เป็นส่วนด้านในของรังที่มีความยาวไม่มากนักจะนำไปปั่นเป็นเส้นด้ายที่เรียกกว่า
Spun Silk
กรด
: ไหมทนกรดได้น้อยกว่าขนสัตว์เพราะไม่มีพันธะโควาเลนต์ระหว่างสายโซ่
โมเลกุล ดังนั้นเหงื่อที่มีความเป็นกรดจะสามารถทำลายเส้นใยไหมได้
ด่าง: สารละลายด่างทำให้เส้นไหมเกิดการพองตัว เพราะโมเลกุลของด่างจะแทรกเข้าไปทำให้โมเลกุลของเส้นไหมบางส่วนเกิดการแยกจากกัน จากโครงสร้างของโมเลกุลของเส้นไหมที่ยึดกันด้วยพัธะไฮโรเจน พันธะไอออนิก และแรงแวนเดอวาลส์เท่านั้น จึงทำให้เส้นไหมเกิดการไฮโดรไลซ์ได้ด้วยด่าง และถ้าปล่อยให้เส้นใยไหมอยู่ในสารละลายด่างเป็นเวลานานๆ ก็ยิ่งทำให้พันธะเปปไทด์ของเส้นไหม เกิดการไฮโดรไลซ์และเส้นไหมจะถูกทำลายในที่สุด ความแข็งแรงและความเงาจะลดลง
ด่าง: สารละลายด่างทำให้เส้นไหมเกิดการพองตัว เพราะโมเลกุลของด่างจะแทรกเข้าไปทำให้โมเลกุลของเส้นไหมบางส่วนเกิดการแยกจากกัน จากโครงสร้างของโมเลกุลของเส้นไหมที่ยึดกันด้วยพัธะไฮโรเจน พันธะไอออนิก และแรงแวนเดอวาลส์เท่านั้น จึงทำให้เส้นไหมเกิดการไฮโดรไลซ์ได้ด้วยด่าง และถ้าปล่อยให้เส้นใยไหมอยู่ในสารละลายด่างเป็นเวลานานๆ ก็ยิ่งทำให้พันธะเปปไทด์ของเส้นไหม เกิดการไฮโดรไลซ์และเส้นไหมจะถูกทำลายในที่สุด ความแข็งแรงและความเงาจะลดลง
แสงแดด: ไหมไม่ทนต่อแสงแดดได้ดีเท่าขนสัตว์
ทั้งนี้เนื่องจากโครงสร้างของไหมไม่เป็นร่างแหและไม่ยึดกันด้วยพันธะโควาเลนต์เช่นเดียวกับขนสัตว์
การเตรียมไหมก่อนการย้อม
โดย : ฉัตรทองไหมไทย
เราเป็นผู้ผลิต และ จำหน่ายผ้าไหมมายาวนานกว่า 100 ปี สืบทอดมายาวนานกว่า 5 รุ่นติดต่อ : 044-284465 , 081-8784285
e-mail : chattong@gmail.com
line @ : thd0967m
face book : Chattong THAI SILK
: https://www.facebook.com/Chattong-THAI-SILK-439013809779439/?ref=bookmarks
web site : https://www.chattongthaisilks.com/
ที่อยู่ : 78/1 หมู่ 8 ต.เมืองปัก อ. ปักธงชัย จ. นครราชสีมา 30150
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น